แฮกเกอร์หลอกเงินชาวคริปโต ‼️

แฮกเกอร์หลอกเงินชาวคริปโต ‼️ WikiBit 2022-05-05 12:52

นักลงทุนสูญเงินกว่า 470,000 ล้านบาท

  รู้อะไรไม่เท่ารู้งี้ เป็นสิ่งที่นักลงทุน ทุกกลุ่มพูดกันอยู่ตลอด แต่หากการรู้ไม่ทันเท่าทันอาจจะทำให้แฮกเกอร์ รวยเละไม่รู้ตัวข้อมูล แฮกเกอร์จากต้นปี 2022

  ทำให้เห็นว่า “โจรไซเบอร์” หรือแฮกเกอร์ ที่เราคุ้นเคยเรียกกันดีนั้นได้มีการเจาะตลาดคริปโตสูญเงิน 470,000 ล้านบาท

  .

  ในปี 2021 เพราะนักลงทุน “รู้ไม่เท่าทันในตลาดคริปโต”Chainalysis บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลในระบบ Blockchain สัญชาติอเมริกันเผยว่า ปี 2021ความเสียหายจากการหลอกหลวงของมิจฉาชีพในตลาดคริปโตทั่วโลกสูงถึง 14,000 ล้านเหรียญสหรัฐ(ราว 470,000 ล้านบาท) เพิ่มจากปีก่อนหน้าถึง 79% โดยส่วนใหญ่เกิดจากการรู้ไม่เท่าทัน ของทักลงทุนหวังเก็งกำไรจากเงินจำนวนมากและช่องโหว่ของระบบธุรกรรมออนไลน์สินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบต่างๆ อย่างคริปโต , NFT ก็ขยายตัวอย่างมากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

  .

  โดยส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์โควิด และบรรดาบริษัทใหญ่ๆให้ความสนใจคริปโตสกุลต่างๆ เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่โตมากสุดอย่างไรก็ตามจากการที่ระบบมีความซับซ้อน ที่เชื่อมโยงกันผ่านทางออนไลน์ บรรดาโจรไซเบอร์ จึงหาช่องทางต่างๆเข้ามาหลอกหลวงนักลงทุน ทั้งหน้าใหม่หน้าเก่าจนเกิดเป็นเรื่องคอยเตือนการลงทุนอยู่เสมอ

  ตามข้อมูลของ Chainalysis ระบุว่า ปี 2021อาชญากรไซเบอร์หลอกเอาเงิน โดยส่วนที่เกิดขึ้นมากสุดคือ แพลตฟอร์มระบบการเงินไร้ตัวกลาง (Decentralize Finance – DeFi) ที่ Code และระบบ Blockchain เข้ามาตัวทำหน้าที่บันทึกธุรกรรมและดำเนินธุรกรรมแทนสถาบันการเงิน ปี 2021 ธุรกรรมผ่าน DeFi ทั่วโลกโตถึง 912%

  และเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพให้หลอกลวงนักลงทุนมากสุดโดยการตั้งบัญชีผู้ใช้ (Account) หลอกๆ เพื่อลวงนักลงทุนหลังคว้าเงินก้อนใหญ่ตามที่ต้องการก็ปิดAccount หนีไป ที่เรียกว่า Rug pullsเหมือนการดึงพรมให้หัวทิ่มจนคนถูกดึงล้มคะมำเป็นวิธีที่ถูกมาใช้มากสุด ซึ่งหนึ่งใน Rug pulls

  .

  ที่เป็นข่าวดังคือ Rug pulls จากเหรียญคริปโต Squid Game ตามซีรีส์เกาหลีใต้เรื่องดังโดยในปี 2021 วิธีการหลอกเอาเงินนักลงทุนด้วย Rug pulls ทำไปได้ถึง 7,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 263,000 ล้านบาท)เป็นปีที่คริปโตขยายตัวอย่างมากหลักฐานคือทั้งจำนวนคริปโตสกุลใหม่ๆ และมูลค่าของคริปโตดังๆเช่น Bitcoin Etheruem และ Dogecoin ที่เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามคริปโตก็เสื่อมเสียหลังมิจฉาชีพบีบให้เหยื่อนำมาจ่ายเป็นค่าไถ่หลังโจมตีด้วยไวรัสเรียกค่าไถ่ (Ransomware) ต่อระบบออนไลน์ของภาคเอกชน โรงพยาบาลหรือหน่วยงานราชการการโจมตีด้วย Ransomware ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่โจรสุดแสบนั้นมาใช้เพื่อกดดันหน่วยงานอยู่เหมือนกัน

  โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆที่มักจะมีข้อมูลของลูกค้า และความลับของคู่ด้านการค้าขาย ก็มักจะตรงเป็นเป้าหมายของพวกมันเสมอ ด้านรัฐบาลของทั่วโลกก็หันมาให้ความสนใจ และมองว่าเรื่องนี้ส่งผลกระทบและต้องหาทางป้องกัน สอดส่องไม่ให้เกิดขึ้นโดยมีการตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมากำกับดูแลอย่าง เช่นที่ไทย ก็จะมีหน่วยงานกองบัญชาการตำรวจไซเบอร์ เป็นผู้สอดส่องดูแลรับเรื่องร้องเรียนเรื่องราวเหล่านี้อยู่เหมือนกันเหตุไม่ชอบมาพากลและการหลอกลวงรูปแบบต่างๆ ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องใส่ใจเมื่อลงทุน ไม่รูปแบบใด ก็ควรจะใส่ใจเสมอ ขอแนะนำให้รู้จัก แอป #wikibit ที่จะพาชาวคริปโตไปรู้ตักกันกลโกงสารพัดของเหล่า Scammer

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:

มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ

  • แปลงโทเค็น
  • การแปลงอัตราแลกเปลี่ยน
  • การคำนวณอัตราแลกเปลียน
/
ชิ้น
อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนี้
จำนวนเงินที่สามารถแลกได้

0.00