ถ้าปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้เป็นยุคของ DeFi ตอนนี้ก็คงบอกได้ว่าเป็นยุคของ GameFi เรียบร้อยแล้ว เกมผุดมาไม่หยุดทุกวัน ดีบ้างแย่บ้างตามประสา แต่ก็ออกมาเยอะจริง ๆ
นักเขียนสาย IT คริปโทได้ออกมาโพสต์ Facebook พูดเรื่องเกมในวงการคริปโทว่าทำไมมันถึงแชร์ลูกโซ่ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย และอยากให้ทุกคนที่ได้อ่านใช้พิจารณาในการลงทุนและระมัดระวังถึงความเสี่ยงให้ดี
ถ้าปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้เป็นยุคของ DeFi ตอนนี้ก็คงบอกได้ว่าเป็นยุคของ GameFi เรียบร้อยแล้ว เกมผุดมาไม่หยุดทุกวัน ดีบ้างแย่บ้างตามประสา แต่ก็ออกมาเยอะจริง ๆ ผลก็ออกมาหลายรูปแบบ บางคนก็ร่ำรวยกันไปในขณะที่บางคนก็เจ๊งระนาว สาเหตุก็ไม่ต่างอะไรกับยุค DeFi คือน้อยคนนักที่มี “ความเข้าใจในกลไกทางเศรษฐศาสตร์ของตัวโปรดักส์” ซึ่งสำคัญมาก ๆ นะ เพราะตลาดนี้มันเป็น Zero Sum Game มีทั้งคนได้และคนเสีย คำถามคือจะทำยังไงให้เป็นคนได้ไม่ใช่คนเสีย ?
ก็ต้องเข้าใจ “พื้นฐาน” ของสิ่งที่เรากำลังจะเข้าไปเล่นอยู่นั่นเองครับ ไม่มีอะไรซับซ้อนกว่านั้น แล้วอะไรคือพื้นฐานของเกม NFT ทุกวันนี้หละ ? ความจริงบอกไปหลายรอบแล้วแต่ก็ขอเน้นย้ำอีกทีเพราะน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนว่า พื้นฐานของเกม NFT เป็น “แชร์ลูกโซ่ (Ponzi)” ครับ
ทำไมเกม NFT ถึงเป็นแชร์ลูกโซ่ ?
ถามว่าทำไม ? ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจนิยามของแชร์ลูกโซ่กันก่อน แชร์ลูกโซ่คือ “เงินลงทุนของคนที่มาหลังถูกจ่ายให้เป็นรายได้ของผู้ลงทุนที่มาก่อน” มันถึงเรียกว่าแชร์ลูกโซ่ เพราะตราบใดที่ยังหาคนมาต่อลูกโซ่ได้เรื่อย ๆ ทุกคนที่อยู่ก่อนก็จะยังได้เงินอยู่เรื่อย ๆ แต่พอถึงจุดที่ไม่มีใครมาต่อแล้ว แชร์ลูกโซ่ก็จะแตก คนที่คืนทุนแล้วก็สบายไปแต่คนที่เข้ามาใหม่ก็จ่ายรอบวงนั่นเอง แล้วทำไมเกม NFT ถึงเป็นแชร์ลุกโซ่หละ ? คำถามนี้สามารถตอบได้จากคำถามที่ง่ายกว่า “คิดว่าที่เล่นเกมแล้วได้เงินเนี่ย เงินที่ได้กันเนี่ยมาจากไหน ?”
หากไล่เรียงทำความเข้าใจ สุดท้ายก็จะรู้ว่าเงินพวกนั้นก็มาจากคนที่เข้ามาใหม่เอาเงินมาลงนั่นเอง หรือไม่ก็คนเก่าเอาเงินมาลงเพิ่ม แบบ เล่น Axie แล้วได้ SLP มาขาย คิดว่าใครซื้อ ? ก็คือคนที่จะ Breed สร้าง Axie ตัวใหม่ แล้ว Axie ที่เกิด ๆ มาไปไหน ? ก็เอาไปวางขายให้คนเข้าใหม่ไง ตามนั้น หรือไม่ว่าจะเกมอะไรก็ตาม จนถึงตอนนี้ทุกตัวเข้าข่าย Ponzi Scheme ทั้งสิ้น เพราะยังไม่มีเกมไหนที่ Generate รายได้จากภายนอกเพื่อ Feed เข้าระบบเลย เป็นการเอาเงินลงทุนจากคนใหม่ไปจ่ายให้คนเก่าทั้งสิ้น ตอนนี้ก็มีบางเกมพยายามสร้างรายได้จากภายนอกอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่เสร็จสักตัว จนถึงตอนนี้เล่นมาหลายสิบเกมก็ต้องบอกว่าไ่ม่ว่าจะออกแบบตัวเกมเป็นอย่างไรแต่สุดท้ายทุกตัวก็ตกเป็นแบบเดียวกันหมด ยังไงหากมีเกมไหนที่ Launch แล้วแต่ไม่ได้มีเศรษฐศาสตร์แบบนี้ก็ฝากบอกด้วยครับ อยากลองไปศึกษาเพิ่มดู
ถ้าเข้าใจตรงนี้แล้วก็ต้องเริ่มยอมรับกันว่าเกมที่เรากำลังจะก้าวเข้าไปเนี่ยมันคือแชร์ลูกโซ่นะ ใช่ครับ แชร์ลูกโซ่แบบแม่มณีหรืออะไรที่มีผู้เสียหายมากมายนั่นแหละ ไม่ต่างกัน
เป็นแชร์ลูกโซ่แล้วไงต่อ ?
ถามว่าห้ามเล่นมั้ย ? ก็บอกว่าไม่ แต่ถ้าจะเล่นก็ต้องทำความเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงกันก่อนจะเข้าเล่น “ลุกช้าจ่ายรอบวง” เป็น Concept ของทุกเกมที่มีอยู่ในตลาดตอนนี้
หากอยากเล่นจริง ๆ ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงกันนะและก็อย่าลืมทำความเข้าใจ Mechanic เบื้องหลังของเศรษฐศาสตร์แบบนี้กันด้วย เพราะถ้าเข้าใจก็ได้เปรียบ แต่ถ้าไม่เข้าใจก็เป็นเหยื่อ ถ้าจะเล่นก็อย่าลงเยอะ อย่า All In ประเมินความเสี่ยงและแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ด้วยความปรารถนาดี
ฝากไว้ในวันที่ GameFi กลายเป็น Norm ของวงการ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
South Korea Plans to Impose Reporting Mandate for Cross-Border Crypto Transactions
Denmark Plans to Propose Taxing Unrealized Crypto Gains in Upcoming Bill
Stablecoin Project Essence on Scroll Rugged, CHI Plummets 97.78%
How to Market Your Crypto Project: An Overview of the QuickShock.io Event
0.00